วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บทสัมภาษณ์เกษตรกรโครงการแผ่นทองของแผ่นดิน ครั้งที่ 3 จ.พิษณุโลก

นางสุจีน องอาจ เกษตรกรผู้มีอาชีพจับปลาขายที่แม่น้ำยม อยู่บ้านเลขที่ 94 หมู่ที่ 2 ตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทร.084-6883143
ปัจจุบันพื้นที่สวนนกบ้านวังเป็ด เดิมเป็นพื้นที่อยู่อาศัยของ นายประทีป และนางสุจีน องอาจ อาชีพเดิม คือ ทำไร่ ทำนา แต่เนื่องจากการทำไร่ทำนาได้ผลผลิตน้อย จึงหันมาทำอาชีพหาปลาในแม่น้ำยมขาย เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว มาจนถึงปัจจุบัน พื้นที่แห่งนี้ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ นางสุจีน และนายประทีป องอาจ ประมาณ 20 ไร่เศษ ซึ่งพื้นที่แห่งนี้อดีตเป็นที่ของ นายจำปี และนางบรรจง เกิดดี ซึ่งเป็นบิดาและมารดาของนางสุจีน ซึ่งทั้งสองได้ถึงแก่กรรมแล้ว พื้นที่แห่งนี้อยู่ในความครอบครองของลูกๆ ทั้ง 9 คน โดยนางสุจีนเป็นลูกสาวคนโต ที่อยู่อาศัยในพื้นที่แห่งนี้ ที่เหลือเป็นที่รกร้างว่างเปล่า และได้แบ่งให้ลูกๆ ส่วนหนึ่ง ในปี พ.ศ 2537 หลังสัมภาษณ์ป้าเล็ก ถึงความเข้าใจเรื่องโรคไข้หวัดนก กว่า 20 ปีที่นี่คุณป้ายืนยันว่านกที่บ้านวังเป็ดไม่ได้เป็นไข้หวัดนกเพราะหน่วยงานและคณะแพทย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล เข้ามาสุ่มตรวจเชื้อไข้หวัดนกและติดตั้งกล่องสำหรับติดตามนก แต่ก็ยังไม่พบเชื้อไข้หวัดนกแต่อย่างใด สำหรับชาวบ้านที่นี่กับการอยู่ร่วมกันกับนกได้อย่างไม่มีอุปสรรคต่อกัน เพียงป้องกันรักษาความสะอาดในชุมชน รักษาความสะอาดในแหล่งน้ำที่บริโภคในชุมชน สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องระหว่างชาวบ้านในชุมชนทั้งยังช่วยส่งเสริมและอนุรักษ์นกในชุมชนอีกด้วย

นายจำเนียร เพิ่มพล เกษตรกรมีอาชีพทำเกษตรไร่นาสวนผสม อยู่บ้านเลขที่ 120/1 หมู่ที่ 2 บ้านวังเป็ดตำบลบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทร.081-5339967
นายจำเนียร เพิ่มพล ปัจจุบันเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำ เกิดและอาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านวังเป็ดมากกว่า 36 ปี สัมภาษณ์หลังจากที่ได้จัดทำโครงการแผ่นทองของแผ่นดินครั้งที่ 3 ในหัวข้อ “ร่วมด้วยช่วยกันรู้ทัน เข้าใจ ป้องกันได้ ไข้หวัดนก” เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมา ณ หาดสองสลึง บ้านวังเป็ด ตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ด้วยการสนับสนุนโครงการโดย องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และสถาบันคีนัน แห่งเอเซีย โดยหลังจากวันที่ได้ทำโครงการนี้ นกในพื้นที่มีเพิ่มมากขึ้น มีนักท่องเที่ยวมาดูนกที่สวนนกวังเป็ดมากขึ้น มีกลุ่มอนุรักษ์นก ชมรมนักดูนกจากทั่วประเทศมาค้างแรมดูนกที่นี่ ระบบนิเวศที่นี่ดีขึ้นหลังฝนตกต้นฤดูฝน นักศึกษามาทำวิจัยจากมหาวิทยาลัยนเรศวรเข้ามาศึกษาแหล่งดูนกที่นี่มากขึ้น หลายองค์กรให้การประชาสัมพันธ์กันต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว องค์การบริหารส่วนตำบลหันมาช่วยสนับสนุนการนำงบประมาณเข้าสู่แผนพัฒนาชุมชนในงบประมาณปีต่อไป ความหวังของชุมชนสร้างมัคคุเทศน์น้อยช่วยนำพานักท่องเที่ยวเข้าชมสวนนกที่นี่ วันนี้นกอ้ายงั่วที่หาดูได้ยากอพยพมาว่างไข่ที่นี่ เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ลำคอยาวเรียวดูคล้ายงู ส่วนหัวยาวมีจงอยปากคล้ายมีดปลายแหลมบนแผ่นหลังและปีกมีลายขีดเป็นเส้นตรง ที่หน้าอกมีแต้มสีเทาออกขาว ใต้คางและคอมีสีขาว ในประเทศไทยพบได้มากที่ อ่างเก็บน้ำคลองสียัด อ่างเก็บน้ำพระปรง จังหวัดสระแก้ว และที่บ้านวังเป็ด อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ในปีนี้มีนกกระยาง นกกาน้ำ นกแขวก นกปากห่าง มาอาศัยอยู่นับล้านตัว ชาวบ้านมีความปลื้มใจที่มีผู้คนมาดูนกที่บ้านวังเป็ดมากขึ้น ชุมชนมีการมาดูแลเฝ้าระวังไข้หวัดนกเป็นอย่างดี มีอาสาสาธารณะสุขประจำหมู่บ้านดูแลและเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญคนกับนกอยู่ด้วยกันได้โดยไม่มีเชื้อไข้หวัดนก ทางหน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำ ได้เข้ามาขยายผลในโครงการนี้ และจัดโครงการสร้างอาคารน้ำดื่มเพื่อการท่องเที่ยว สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาชมนกที่สวนชมนกบ้านวังเป็ดได้ดื่มน้ำที่สะอาด ที่สำคัญคือยังขาดแคลนห้องน้ำสำหรับนักท่องเที่ยวอย่างให้หน่วยงานอื่นๆ มาสนับสนุนอีก ขอขอบคุณยังหน่วยงานองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา สถาบันคีนัน แห่งเอเซีย มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด ดีแทค รายการร่วมด้วยช่วยกัน ที่ช่วยสร้างแรงผลักดันที่นี่ให้เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของคนไทยทั่วประเทศ และเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดพิษณุโลก อนาคตมีความปรารถนาที่จะสร้างหอดูนก เพื่อสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สมบูรณ์แบบ