วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2552

นกนับล้านที่บ้านวังเป็ด


สวนนกวังเป็ดเป็นสวนนกธรรมชาติ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านวังเป็ด ตำบลบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ที่อาศัยของนกอยู่ติดแม่น้ำยม อุดมสมบูรณ์ด้วยแหล่งอาหาร ปลาธรรมชาติในพื้นที่รวมกว่า 80 ไร่ โดยมีผู้ใจบุญซื้อที่ดินให้นกได้อยู่อาศัย ในแต่ละปีนกที่สวนนกวังเป็ดจะให้กำเนิดทายาทนกมากมายนับแสนตัว ในช่วงเข้าฤดูฝนจะกลับมาทำรัง ณ ที่แห่งนี้ โดยมีนกเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากหมุนเวียนเปลี่ยนกันไปตลอดทั้งปี นกที่มาอาศัยอยู่ที่นี้ คือ นกยางโทนนกน้อย นกยางเปีย นกยางจีน นกแขวก นกอ้ายงั่ว ฯลฯ

กล่าวรายงานรองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก โดย สัตวเพทย์หญิง ดร.สุดารัตน์ ดำรงค์วัฒนโภคิน Regional Animal Health Advisor องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่าง


กราบเรียนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ผู้อำนวยการสำนักงานสำนึกรักบ้านเกิด ภายใต้การสนับสนุนของบริษัท ดีแทค ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานภาคเหนือ เขต 3 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำ ผู้จัดการสถานีวิทยุ ร่วมด้วยช่วยกันจังหวัดพิษณุโลก ท่านวิทยากร แขกผู้มีเกียรติและ ท่านผู้เข้าร่วมการสัมมนาทุกท่าน ในนามของผู้แทนจากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และสถาบันคีนัน แห่งเอเซีย มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติเข้าร่วมในพิธีเปิด งานสัมมนาในโครงการแผ่นทองของแผ่นดินครั้งที่ 3 และงานสัมนาโครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้หวัดนก ในหัวข้อ ร่วมด้วยช่วยกัน รู้ทัน ป้องกันไข้หวัดนก ที่จัดขึ้นโดย เครือข่ายของบริษัท ดีแทค ได้แก่ มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด สำนักข่าวไอ เอ็น เอ็น และสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน Happy Station ทุกวันนี้เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ปีกในประเทศไทยยังอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงที่ สัตว์ปีกของท่านอาจได้รับเชื้อโรคไข้หวัดนกและมีความเป็นไปได้ที่เชื้อที่ทำให้เกิดโรคในสัตว์ อาจ กลายพันธุ์แพร่จากสัตว์มาสู่คน ทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ อย่างไรก็ดี สถานการณ์เหล่านี้สามารถป้องกันได้หากเกษตรกรและประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการ เลี้ยงและจัดการฟาร์มสัตว์ปีกอย่างถูกวิธี มีการดูแล และเฝ้าระวัง สัตว์ปีก รวมถึงการเคลื่อนย้ายสัตว์ ในพื้นที่ของท่าน


รัฐบาลของสหรัฐอเมริกา ได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ และได้จัดตั้งหน่วยงาน ให้มีภารกิจใน การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก โดยให้การสนับสนุนด้านเงินทุน เป็นจำนวนกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับการสนับสนุนโครงการใน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โครงการนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯและภาคเอกชน วัตถุประสงค์หลัก ของโครงการนี้คือ การสร้างความตระหนักในเรื่องไข้หวัดนกอย่างถูกต้องในหมู่ เกษตรกร และประชาชนทุกภาคส่วน และให้กลุ่มเกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการสัมผัสสัตว์ปีก เข้าใจและมีการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง หากเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก อันเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านสาธารณสุขด้วย


ความพยายามเหล่านี้ เชื่อว่าจะประสบผลสำเร็จได้ ด้วยความร่วมมือ ขององค์กรทุกฝ่ายในที่นี้ อันได้แก่การสนับสนุนของ ดีแทค ในด้านช่องทางการสื่อสาร แจ้งเหตุ ผ่านทาง โทรศัพท์ กดดอกจัน 1677 สายด่วนข้อมูลการเกษตร และการส่งข้อความ SMS ที่ให้ข้อมูลข่าวสาร การสนับสนุนทางวิชาการที่ให้การฝึกอบรมโดยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด การประสานงาน และดำเนินการฝึกอบรม โดยมูลนิธิสำนึก รักบ้านเกิด และเครือข่ายเกษตรกร และช่องทางของสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน HAPPY STATION ที่ช่วยกันดำเนินงานในโครงการนี้ให้เกิดประโยชน์ กับเกษตรกร และครอบครัว ของท่าน
องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกามีความยินดีที่ได้มาร่วมเป็นเครือข่ายและสนับสนุนโครงการนี้ และขอให้กิจกรรมร่วมด้วยช่วยกันต้านภัยไข้หวัดนกใน โครงการแผ่นทองของแผ่นดิน บรรลุวัตถุประสงค์และประสบความสำเร็จด้วยดี

โครงการแผ่นทองของแผ่นดิน ครั้งที่ 3


องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา สถาบันคีนัน แห่งเอเซีย มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) สำนักข่าว ไอ เอ็น เอ็น และสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน Happy Station จังหวัดพิษณุโลก FM 92.50 MHz. จัดโครงการ แผ่นทองของแผ่นดิน สัมมนา รู้ทัน เข้าใจ ป้องกันได้ ไข้หวัดนก วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม ที่ผ่านมา ณ หาดสองสลึง บ้านวังเป็ด ตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก โดยมี นายยงยศ เมฆอรุณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก นายวิบูลย์ ตั้งเกษมวิบูลย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำ อำนวยความสะดวกสถานที่จัดโครงการ และได้รับการสนับสนุนจาก รัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดยองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และสถาบันคีนัน แห่งเอเซีย ได้เห็นความสำคัญ การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ของโครงการนี้คือ การสร้างความตระหนักในเรื่องไข้หวัดนกอย่างถูกต้องในหมู่ เกษตรกร และประชาชนทุกภาคส่วน และให้กลุ่มเกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการสัมผัสสัตว์ปีก เข้าใจและมีการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง หากเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก อันเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านสาธารณสุขด้วย

นายพีระพงษ์ กลิ่นละออ ผู้อำนวยการสำนักงานสำนึกรักบ้านเกิด กล่าวว่า ปัจจุบันภาคการเกษตรถือเป็นรากฐานสำคัญของประเทศจากอดีตสู่ปัจจุบัน แต่ด้วยวิถีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงตามการพัฒนาสังคม ทำให้เกิดการครอบงำโดยระบบทุนนิยม อย่างชัดเจน หลายอย่างกลายเป็นต้นทุนโดยไม่จำเป็น และถูกผูกโยงเข้าสู่ระบบการผูกขาดในปัจจัยการผลิต จึงก่อให้เกิดปัญหาตามมาหลายอย่าง อาทิ ราคาผลผลิต เมล็ดพันธุ์ สภาพการตลาด คุณภาพของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรที่มีอาชีพเลี้ยงสัตว์ปีกได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนก เกษตรกรและประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการเลี้ยง และการอาศัยอยู่ร่วมกัน และมีการเฝ้าระวัง ที่สำคัญประชาชนและทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกัน

สัตวเพทย์หญิง สุดารัตน์ ดำรงค์วัฒนโภคิน Regional Animal Health Advisor องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และสถาบันคีนัน แห่งเอเซีย กล่าวว่า ทุกวันนี้เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ปีกในประเทศไทยยังอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง ที่สัตว์ปีกของท่านอาจได้รับเชื้อโรคไข้หวัดนกและมีความเป็นไปได้ที่เชื้อที่ทำให้เกิดโรคในสัตว์ อาจ กลายพันธุ์แพร่จากสัตว์มาสู่คน ทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ อย่างไรก็ดี สถานการณ์เหล่านี้สามารถป้องกันได้หากเกษตรกรและประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการ เลี้ยงและจัดการฟาร์มสัตว์ปีกอย่างถูกวิธี มีการดูแล และเฝ้าระวัง สัตว์ปีก รวมถึงการเคลื่อนย้ายสัตว์ ในพื้นที่ของท่าน

รัฐบาลของสหรัฐอเมริกา ได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ และได้จัดตั้งหน่วยงาน ให้มีภารกิจใน การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก โดยให้การสนับสนุนด้านเงินทุน เป็นจำนวนกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับการสนับสนุนโครงการใน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โครงการนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯและภาคเอกชน วัตถุประสงค์หลัก ของโครงการนี้คือ การสร้างความตระหนักในเรื่องไข้หวัดนกอย่างถูกต้องในหมู่ เกษตรกร และประชาชนทุกภาคส่วน และให้กลุ่มเกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการสัมผัสสัตว์ปีก เข้าใจและมีการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง หากเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก อันเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านสาธารณสุขด้วย

ความพยายามเหล่านี้ เชื่อว่าจะประสบผลสำเร็จได้ ด้วยความร่วมมือ ขององค์กรทุกฝ่ายในที่นี้ อันได้แก่การสนับสนุนของ ดีแทค ในด้านช่องทางการสื่อสาร แจ้งเหตุ ผ่านทาง โทรศัพท์ กดดอกจัน 1677 สายด่วนข้อมูลการเกษตร และการส่งข้อความ SMS ที่ให้ข้อมูลข่าวสาร การสนับสนุนทางวิชาการที่ให้การฝึกอบรมโดยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด การประสานงาน และดำเนินการฝึกอบรม โดยมูลนิธิสำนึก รักบ้านเกิด และเครือข่ายเกษตรกร และช่องทางของสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน HAPPY STATION ที่ช่วยกันดำเนินงานในโครงการนี้ให้เกิดประโยชน์ กับเกษตรกร และครอบครัว
นายยงยศ เมฆอรุณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย จากโครงการในพระราชดำรินานัปการ และพระบรมราโชวาทตลอดระยะของการครองราชย์ บัดนี้ เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกระแสทางเลือกใหม่ของการพัฒนาประเทศที่ทำให้เราอยู่ได้อย่างยั่งยืนมั่นคงและเข้มแข็ง โดยมีการบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ระหว่าง พ.ศ.2550 – 2554 จึงถือเป็นวาระแห่งชาติ ที่ภาครัฐมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ภาคประชาชน

ทั้งนี้ในส่วนของ จ.พิษณุโลก ถือว่ามีศักยภาพอยู่แล้วในหลายด้าน ทั้งวัฒนธรรม การบริการ การ
ท่องเที่ยว การค้าขาย และภาคเกษตรกรรม โดยภาคเกษตรกรรมนั้น มีแหล่งผลิตพืชผลทางด้านการเกษตรหลายประเภทที่สำคัญของประเทศ พืชเศรษฐกิจหลายอย่างสร้างมูลค่ามหาศาล ขณะเดียวกันก็ยังมีปัญหาควบคู่ไปด้วย ทั้งเรื่องราคาพืชผลทางการเกษตรประสบปัญหาราคาที่ตกต่ำ ตลาดรองรับและคุณภาพชีวิตของพี่น้องเกษตรกร ที่ยังคงต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่มากขึ้น ซึ่งในวันนี้ได้มีการจัดสัมมนา โครงการแผ่นทองของแผ่นดินเพื่อให้เกษตรกรมีการวางแผนจัดการเพาะปลูกที่ถูกต้อง และได้รู้จักการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในแหล่งชมนกธรรมชาติ พร้อมทั้งแนวทางในการป้องกันไข้หวัดนกและ แก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดไข้หวัดนกในอนาคต เพิ่มศักยภาพการควบคุมโรค ระงับการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งโรคไข้หวัดนกเป็นโรคระบาดที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากโรคไข้หวัดนกให้หมดไป ต้องอาศัยระยะเวลาและความร่วมมือ อย่างจริงจังของประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วน

ภาคเกษตรกรรมได้รับผลกระทบอย่างไรก็ตามในส่วนของจังหวัดพิษณุโลกก็ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการร่วมขับเคลื่อนตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพและแก้ไขปัญหาภาคการเกษตรในอนาคต และการสัมมนาครั้งนี้ก็ถือว่าสอดรับกับยุทธศาสตร์ของจังหวัดที่เป็นการร่วมมือกันทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนด้วย จึงขอขอบใจทุกส่วนที่ได้ร่วมกันดำเนินการในครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การสัมมนาจะก่อให้เกิดการพัฒนาและความก้าวหน้าด้านการเกษตร การท่องเที่ยว และการป้องกันโรคไข้หวัดนก

ฝูกนกยางที่บ้านวังเป็ด

นกยางนานาชนิดนับแสนตัว บริเวณฝั่งทิศตะวันตกบ้านวังเป็ด อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ในช่วงเวลาเย็นนกจะกลับมารังเป็นภาพที่สวยงามมาก

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552

แผนที่เส้นทางดูนกบ้านวังเป็ด


แผนที่เส้นทางดูนกที่
บ้านวังเป็ด หมู่ที่ 2 ตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
กรุงเทพฯ - พิษณุโลก ระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตร ทางหลวงหวายเลข 117
พิษณุโลก - บ้างวังเป็ด ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ทางหลวงหมายเลข 117

นกยางควาย


นกยางควาย (Cattle Egret) : Bubulcus ibis
ลักษณะ
มีขนาดเล็ก หนังที่หน้าเหลืองคล้ำ ปากเหลืองหนาและสั้น หัวโต คอหนาและสั้น ขนค่อนข้างสั้นสีเทาคล้ำ ฤดูผสมพันธุ์ปากมีสีเหลืองหรือชมพูสด หัว คอ อกและหลังมีสีน้ำตาลแกมส้มสดใส ขนบริเวณท้ายทอย ขนเจ้าชู้ที่อกยาวมากขึ้น เสียงร้อง “กริ๊ก
อุปนิสัย
ชอบอาศัยบริเวณ หนอง บึงและน้ำตื้นๆ อยู่รวมกันเป็นฝูง มักออกหากินปะปนกับฝูงควาย บางครั้งขึ้นไปเกาะบนหลังควาย จึงเรียกว่า นกยางควาย เป็นนกค่อนข้างเชื่องไม่ค่อยกลัวคน
การสืบพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนตุลาคม ทำรังอยู่รวมกันบนต้นไม้ อยู่รวมกันกับนกชนิดอื่นๆ วางไข่ครั้งละ 3-5ฟอง
การแพร่กระจาย
พบในทวีปเอเชีย อินเดีย จีน ใต้หวัน ฟิลิปินส์ อินโดจีน และทั่วทุกภาคของประเทศไทย

นกยางเปีย


นกยางเปีย (Little Egret ) : Egretta garzetta
ลักษณะ
นกยางเปียตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน รูปร่างคล้ายนกกระยางชนิดอื่นๆแต่มีลักษณะเด่นชัดคือปากมีสีดำ โคนปากสีเหลือง และนิ้วเท้ามีสีเหลืองคล้ำ ในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะมีขนเป็นเส้นยาวอยู่บนหลังและอก มีขนเปีย 2 เส้นขนาดยาว 5-6 นิ้ว ขนดังกล่าวเมื่อพ้นฤดูผสมพันธ์จะร่วงหลุดไป ขนปกคลุมหัวเละลำตัวสีขาว
อุปนิสัย
ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินตามทุ่งหญ้า ที่มีน้ำขัง หนอง บึง ริมคลองและชายทะเล
การสืบพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ทำรังอยู่บนต้นไม้เดียวกันเป็นฝูง และมักใช้รังเดิมในการวางขาในปีต่อไปตัวเมียวางไข่ครั้งละ 3-5 ฟอง
การแพร่กระจาย
พบในทวีปเอเชีย อินเดีย ใต้หวัน อินโดจีน ฟิลิปินส์ และพบในทุกภาคของประเทศไทย

นกแขวก

นกแขวก Black Crowned Night Heron
ลักษณะ
นกแขกตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน ตามลำตัวมีขนสีเทา บนหัวและขนเปียมีสีน้ำเงินเข้ม ขนบนหลังมีสีดำแกมน้ำเงิน และหางมีสีเทา บริเวญคอถึงท้องมีสีขาว ช่วงฤดูผสมพันธุ์ขนเปียมีสีน้ำตาลเปลี่ยนเป็นสีขาวและมีตาสีแดง
อุปนิสัย
ออกหากินในเวลากลางคืน เวลากลางวันจะพบตามต้นไม้ร่มรื่น บริเวณฝั่งไกล้หนองบึง และแม่น้ำ พอพลบค่ำจะออกหาอาหาร
การสืบพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน ทำรังบนกับนต้นไม้กับนกชนิดอื่นๆรังทำด้วยกิ่งไม้เล้กๆ วางไข่ครั้งละ 4-5 ฟอง
อาหาร
ชอบกินกุ้ง ปลา กบ เขียด และแมลงต่างๆ ตามแหล่งน้ำนิ่งๆ
การแพร่กระจาย
พบในทวีปเอเชีย อินโดจีน ใต้หวัน พม่า มาเลเซีย และพบในภาคเหนือกลางและภาคอีสานของประเทศไทย
ลักษณะ
นกแขกตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน ตามลำตัวมีขนสีเทา บนหัวและขนเปียมีสีน้ำเงินเข้ม ขนบนหลังมีสีดำแกมน้ำเงิน และหางมีสีเทา บริเวญคอถึงท้องมีสีขาว ช่วงฤดูผสมพันธุ์ขนเปียมีสีน้ำตาลเปลี่ยนเป็นสีขาวและมีตาสีแดง
อุปนิสัย
ออกหากินในเวลากลางคืน เวลากลางวันจะพบตามต้นไม้ร่มรื่น บริเวณฝั่งไกล้หนองบึง และแม่น้ำ พอพลบค่ำจะออกหาอาหาร
การสืบพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน ทำรังบนกับนต้นไม้กับนกชนิดอื่นๆรังทำด้วยกิ่งไม้เล้กๆ วางไข่ครั้งละ 4-5 ฟอง
อาหาร
ชอบกินกุ้ง ปลา กบ เขียด และแมลงต่างๆ ตามแหล่งน้ำนิ่งๆ
การแพร่กระจาย
พบในทวีปเอเชีย อินโดจีน ใต้หวัน พม่า มาเลเซีย และพบในภาคเหนือกลางและภาคอีสานของประเทศไทย

นกกาน้ำเล็ก

นกกาน้ำเล็ก Little Cormorant : Phalacrocorax niger
ลักษณะ
ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ตามลำตัวมีสีดำและสีเหลืองน้ำเงิน ตรงปีกมีสีน้ำตาล บริเวณรอบตามีจุดสีขาวเล็กๆ ใต้ตามีสีครีม ระหว่างนิ้วเท้ามีผังผืดสีดำ ไกล้เคียงกับเป็ด ช่วยในการว่ายน้ำ
อุปนิสัย
ชอบอาศัยตามหนอง บึง แม่น้ำลำคลอง หนองนา ส่วนใหญ่อยู่ตามลำพัง ชอบดำตกปลาเป็นอาหาร
การสืบพันธุ์
จะผสมพันธุ์ ในช่วงเดือนพฤษภาคม ทำรังอยู่บนต้นไม้ใหญ่รวมกันหลายรังบนต้นเดียวกัน ด้วยกิ่งไม้เล็กๆวางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง
การแพร่กระจาย
พบในทวีปยุโรป แอฟริกา และอินโดจีน มาเลเซีย และทั่วทุกภาคของประเทศ

นกยางโทนน้อย


นกยางโทนน้อย (Intermediate Egret)

ลักษณะ
มีลักษณะคล้ายนกยางเปีย และยางโทนใหญ่ เมื่อเทียบกันแล้วมีขนาดใหญ่กว่านกยางเปีย แต่เล็กกว่ายางโทนใหญ่ ฤดูผสมพันธุ์นกยางโทนน้อย จะมีขนที่หน้าอก นกยางโทนน้อยตัวผู้ตัวเมียเหมือนกัน ขนตามลำตัวมีสี ขาว ปากมีสีเหลืองฤดูผสมพันธุ์นิ้วเท้าและเท้ามีสีดำ
อุปนิสัย
ชอบหากินตามทุ่งนา หนอง บึง ป่าชายเลน ริมชายฝังทะเล ก้าวเดินมองหาเหยื่อเมื่อพบจะยืดคออย่างรวดร็ว เพื่อจิกเหยื่อ
การสืบพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน ทำรังอยู่บนต้นไม้ไม่สูงนัก ด้วยกิ่งไม้เล็กๆปะปนกับนกกระยางชนิดอื่นๆตัวเมียออกไข่ 3-5 ฟอง
อาหาร
กินกุ้ ง ปลา เป็นอาหาร และแมลงต่างๆเป็นอาหาร
การแพร่กระจาย
พบในทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย ทวีปเอเชีย และพบในประเทศไทย จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ฟิลิปินส์ อินโดจีนและทั่วทุกภาคของประเทศไทย

นกยางโทนใหญ่



นกยางโทนใหญ่ Great Egret : Casmerodius albus
ลักษณะ
เป็นนกยางสีขาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ขนปกคลุมลำตัวสีขาว คอเรียวยาว เวลายืนจะมองเห็นลำคอช่วงกลางหักโค้งชัดเจน ปากสีเหลือง ขนและตีนมีดำ ฤดูผสมพันธุ์ปากเปลี่ยนเป็นสีดำ ขนบริเวณหลังคอยาวออกเป็นพูสวยงาม
อุปนิสัย
มักพบยืนเด่นท่ามกลางนกยางชนิดอื่นๆ ยืนนิ่งเหยียดคอ ก้มมองหาปลาและสัตว์เล็กๆแล้วพุ่งปากไปอย่างรวดเร็วเมื่อเจอเหยื่อ
การสืบพันธุ์
ผสมพันธุ์ช่วงเดือน พฤษภาคมและมิถุนายน ทำรังอยู่บนต้นไม้ ที่ไม่สูงนัก ด้วยกิ่งไม้เล็กๆ ปะปนกับนกยางชนิดอื่นๆ ตัวเมียวางไข่ครั้งละ3-5 ฟอง
อาหาร
นกยางโทนใหญ่ ชอบกินกุ้ง ปลา กบ เขียด หอย และแมลงต่างๆเป็นอาหาร
การแพร่กระจาย
พบในทวีปแอฟริกา ออสเตรเลีย และทวีปเอเชีย อินเดีย จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ใต้หวัน ฟิลิปินส์ อินโดจีน และพบในทุกภาคของประเทศไทย

นกยางกรอกพันธุ์จีน

นกยางกรอกพันธุ์จีน Chainese Egret : Egretta eulophotes
ลักษณะ
มีขนาดเล็กกว่านกยางโทนน้อย มีขนสีขาวตลอดตัว ขาและนิ้วเท้ามีสีเขียว ปลายปากมีสีค่อนข้างดำ โคนปากสีเหลืองขนใกล้ตามีสีเขียว ลักษณะสีใกล้เคียงกับนกยางทะเล แต่ปากเรียวแหลมกว่า ในขณะบินขาจะยาวกว่านกยางทะเล ฤดูผสมพันธุ์ขาจะมีสีดำ และนิ้วเท้าจะเป็นสีเขียวอมเหลือง ปากสีเหลือง ขนตามีสีฟ้า มีขนขึ้นเป็นกระจุกบริเวณหลังคอ
อุปนิสัย
ชอบยืนตามชายฝั่ง ขี้โคลน เลน เพื่อจับสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร
อาหาร
นกกระยางจีนชอบลูกกุ้ง ลูกปลา และสัตว์น้ำเล็กๆ เป็นอาหาร
การแพร่กระจาย
พบในทวีปออสเตรเลีย แอฟริกา ทวีป เอเชีย พบในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ฟิลิปินส์ อินโดจีนและ พบแถบภาคใต้ของประเทศไทย